อัปเดต 3 วัคซีนโควิดพันธุ์ไทย ลงทุนเพื่ออนาคต แม้การระบาดคลี่คลาย

อัปเดต 3 วัคซีนโควิดพันธุ์ไทย ลงทุนเพื่ออนาคต แม้การระบาดคลี่คลาย

คุยกับ ผอ.สถาบันวัคซีน อัปเดต 3 วัคซีน สายพันธุ์ไทย อยู่ในขั้นตอนทดลองกับคน เฟส 1 และ เฟส 3 ชี้เด็กเกิดใหม่ก็สำคัญ เพราะในสังคมยังมีเชื้ออยู่...สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด จากการอัปเดต เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 มีผู้ติดเชื้อแล้ว 761,402,282...
Audi RS Performance Edition เปิด 2 รุ่นรวดในไทย ค่าตัว 11.28 ล้านบาท

Audi RS Performance Edition เปิด 2 รุ่นรวดในไทย ค่าตัว 11.28 ล้านบาท

Audi RS Performance Edition เปิด 2 รุ่นรวดในไทย ค่าตัว 11.28 ล้านบาท อาวดี้ ส่งตัวโหด เสริมทัพรถในตระกูลสมรรถนะสูง เปิด RS Performance Edition 2 รุ่นรวด อัพเกรดมาตรฐานใหม่สายแรง RS 7 Sportback Performance...
รู้จัก นวัตกรรมเพื่อ ‘ผู้พิการ’ จากแล็บไทยในงานวันสิ่งประดิษฐ์

รู้จัก นวัตกรรมเพื่อ ‘ผู้พิการ’ จากแล็บไทยในงานวันสิ่งประดิษฐ์

ชุดอุปกรณ์ดูแลอนามัยช่องปากสำหรับผู้ป่วยพิเศษ และเท้าเทียมไดนามิกส์สำหรับผู้พิการไม่มีขา เป็น 2 นวัตกรรมตัวอย่างที่พัฒนาโดยนักวิจัยไทย ถูกจัดแสดงในงาน “วันนักประดิษฐ์” (Thailand Inventors' Day 2023) ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 24 ภายในงานไม่ได้มีแค่นวัตกรรมเพื่อผู้พิการเท่านั้น แต่ยังสิ่งประดิษฐ์ทางการแพทย์ และในแขนงอื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศจัดแสดงร่วมกว่า 1,000 ผลงาน  วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า งานวันนักประดิษฐ์ในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด...
HUAWEI จัดสัมมนา “Thailand Talent Talk ครั้งที่ 4” มุ่งบ่มเพาะ บุคลากรด้านดิจิทัล ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

HUAWEI จัดสัมมนา “Thailand Talent Talk ครั้งที่ 4” มุ่งบ่มเพาะ บุคลากรด้านดิจิทัล ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

HUAWEI จัดสัมมนา “Thailand Talent Talk ครั้งที่ 4” เร่งบ่มเพาะ บุคลากรด้านดิจิทัล สร้างความพร้อมให้แรงงานไทยและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในอนาคตบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด (HUAWEI) และสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็ก (GCNT) ร่วมกันจัดงานสัมมนา “Thailand Talent Talk ครั้งที่ 4: ขับเคลื่อนแรงงานทักษะขั้นสูงในอุตสาหกรรม...
ต่างชาติเร่งเครื่องลงทุน แรงหนุน“เปิดประเทศ-ย้ายฐาน”

ต่างชาติเร่งเครื่องลงทุน แรงหนุน“เปิดประเทศ-ย้ายฐาน”

ครึ่งแรกปี 2565 คลื่นวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย แต่ทั่วโลกยังต้องเผชิญวิกฤติและความไม่แน่นอนแบบใหม่จากความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ตามด้วยการรับมือภาวะเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยสูง ซึ่งมีแนวโน้มผลักดันให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย  อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนยังเชื่อมั่นครึ่งหลังของปีจะมีดีมานต์การลงทุนย้ายฐานผลิต ตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างซัพพลายเชน โดยเฉพาะพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นจุดยุทธศาสตร์เชื่อมโยงภูมิภาคโสภณ ราชรักษา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในฐานะหนึ่งในผู้พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม ที่พักอาศัย และเพื่อการพาณิชย์  วิเคราะห์แนวโน้มการลงทุนในอนาคตโดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ - ช่วงที่ 1 การย้ายฐานการผลิต (Relocation) จากช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีดีมานด์ที่นักลงทุนต่างชาติต้องการย้ายการลงทุนออกจากจีน เพื่อสร้างฐานการผลิตใหม่เข้าในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามการค้า และความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ซึ่งเป็นโอกาสในระยะสั้นที่กลุ่มประเทศอาเซียน ต้องแข่งกันช่วงชิง เตรียมพร้อมการพัฒนาพื้นที่ให้เหมาะสมรับการลงทุนในปีนี้ และปีถัดไป ให้ตอบโจทย์สำหรับการย้ายสถานประกอบการที่ต้องการความรวดเร็ว เพื่อย่นระยะเวลาเข้าสู่ตลาด รวมถึงพิจารณาการลงทุนที่มีความยืดหยุ่นและสามารถเติบโตได้ในอนาคต - ช่วงที่ 2 เป็นการขยายการลงทุน (Expansion) ในช่วง 4-5 ปีข้างหน้า เมื่อโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในพื้นที่อีอีซีแล้วเสร็จ จะเกิดการขยายการลงทุนหลายธุรกิจรวมถึง New S-Curve เพื่อเน้นสร้างความแข็งแกร่งของซัพพลายเชน โดยผู้ลงทุนจะพิจารณาจากหลายปัจจัยเพื่อตัดสินใจลงทุนระยะยาว ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพ ความเป็นอยู่ในพื้นที่กฎระเบียบที่เอื้อการลงทุน “สิ่งสำคัญที่สุดที่จะดึงนักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามา คือ การสร้างความเชื่อมั่นว่าอีอีซีจะเติบโตอย่างเสถียรภาพ มีความมั่นคง รวมทั้งมีนโยบายในการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง” สำหรับการลงทุนปี 2565 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ตั้งเป้าหมายคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนไม่น้อยกว่า 6 แสนล้านบาท โดยการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ครึ่งแรกของปี 2565 (ม.ค.-มิ.ย.) มีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริม 395 โครงการ มูลค่าการลงทุน 139,083 ลดลง 53% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ส่วนใหญ่ขอรับส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมหมวดบริการและสาธารณูปโภค รองลงมาเป็นหมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง แบ่งเป็นโครงการขยาย 80% และโครงการใหม่ 20% โดยญี่ปุ่นมีจำนวนโครงการยื่นขอรับการส่งเสริมมากสุดคิดเป็น 25% มูลค่าการลงทุน 16,932 ล้านบาท ขณะที่ไต้หวันมีมูลค่าการลงทุนสูงสุดรวม 38,583 ล้านบาท จากการลงทุนยานยนต์ไฟฟ้า   ณัฐพรรษ ตันบุญเอก ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า  ดับบลิวเอชเอประเมิน 4 ปัจจัยหลัก ที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังปี 2565 ประกอบด้วย 1.การเปิดประเทศ และการคลี่คลายมาตรการป้องกันโควิด กระตุ้นการเดินทางและการท่องเที่ยวให้เริ่มกลับมาฟื้นตัว จากข้อมูลสถิติการท่องเที่ยวทั่วโลกในปี 2564 เทียบกับฐานปี2563 ติดลบ 71% เริ่มขยับขึ้นในไตรมาส 1 ปี 2565 ติดลบน้อยลง อยู่ที่ 61% โดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐที่การเดินทางฟื้นเร็ว รวมถึงไทยที่การท่องเที่ยวเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง 2.ความตึงเครียดเชิงภูมิรัฐศาสตร์ในหลายพื้นที่ ตั้งแต่ความขัดแย้งสงครามการค้าระหว่างประเทศมหาอำนาจสหรัฐและจีน สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่เกิดขึ้นในช่วงต้นปี การซ้อมรบจีน-ไต้หวัน และความขัดแย้งอื่นที่รอวันปะทุจะเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกันเป็นโอกาสท่ามกลางความขัดแย้งของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ที่กลุ่มผู้นำ G7 ประกอบด้วย แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่น, อังกฤษและสหรัฐได้มีการออกมาตรการความร่วมมือ Build Back Better World (B3W) กระตุ้นการลงทุนในภูมิภาคเพื่อต้านขยายอิทธิพลของจีนที่ดำเนินโครงการ Belt and Road 3.Post-Disruption หลังการเกิดเทคโนโลยีดิสรัปชัน ภาคการผลิตและบริการมีความพร้อมในการปรับตัวรับการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยี  4.เศรษฐกิจโลก ที่กำลังเผชิญภาวะเงินเฟ้อ และอยู่ในช่วงอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ทั้งนี้ ดับบลิวเอชเอมองว่าปัจจัยข้างต้นจะเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้โครงสร้างหลักคิดและโมเดลของซัพพลายเชนในอนาคตเปลี่ยนไป ตั้งแต่แนวคิดโลกาภิวัตน์ที่ถูกท้าทายสู่การสร้างความแข็งแกร่งของภูมิภาค และการย้ายฐานการผลิตออกจากจีน รวมทั้งเลือกที่ตั้งให้ใกล้ตลาดขึ้น การใช้เทคโนโลยีและระะบบอัตโนมัติร่วมกับการจัดการซัพพลายเชน รวมถึงจะรวมเทคโนโลยีกับระบบการบริการและการผลิต ท้ายที่สุดแล้วท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของซัพพลายเชน ซึ่งไทยเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่มีศักยภาพน่าลงทุนในการเชื่อมภูมิภาคด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่กำลังเข้าสู่ระยะก่อสร้าง ตั้งแต่ท่าเรือ สนามบิน และระบบราง นอกจากนี้แผนเชื่อมโยงระหว่างอีอีซีและเขตเศรษฐกิจพิเศษอื่นจะเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
วอลโว่ คาร์ เปิดตัว Volvo Studio Bangkok แห่งแรกในประเทศไทย

วอลโว่ คาร์ เปิดตัว Volvo Studio Bangkok แห่งแรกในประเทศไทย

วอลโว่ คาร์ เปิดตัว Volvo Studio Bangkok แห่งแรกในประเทศไทย และภูมิภาคเซาท์อีส เอเชีย ที่ชั้น 3 ห้างสรรพสินค้า ไอคอนสยามวอลโว่ คาร์ ประเทศไทย ตอกย้ำจุดยืนในการส่งมอบประสบการณ์สุดพิเศษแก่ลูกค้า เปิดตัว Volvo Studio Bangkok แบรนด์ เอ็กซ์พิเรี่ยน เซ็นเตอร์ แห่งแรกในประเทศไทยและเซาท์อีส...

ข่าวล่าสุด