สรุปสาระสำคัญจากงาน Bangkok FinTech Fair 2021 ก้าวสู่ทศวรรษใหม่ กับโลกการเงินไทยแห่งอนาคต SHAPING DIGITAL FINANCE IN THE NEW DECADE

Digital Outlook and Overview:

ก้าวผ่านวิกฤติ สู้โควิดด้วยดิจิทัล

ภาพรวม

การแพร่ระบาดของ COVID19 เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเร่งให้เกิด digital adoption และ digital disruption ในทุกมิติของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการเงิน ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสถาบันการเงิน nonbanks ผู้ประกอบการ FinTech รวมถึงภาครัฐและผู้กำกับดูแล ได้มีการปรับตัวมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในอนาคต
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของประเทศสำหรับรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล จะเป็นหัวใจสำคัญ
ที่นำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ มั่นคงปลอดภัย และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างดี ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างทั่วถึง ซึ่งจะเป็นประโยชน์
ต่อทุกคนในระบบ และช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจต่อไป

สรุปสาระสำคัญ

 การแพร่ระบาดของ COVID19 เป็นตัวกระตุ้นสำคัญต่อการใช้เทคโนโลยีทางการเงินของผู้บริโภค โดยเฉพาะการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้กลายเป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับรัฐบาล ในการกระจายรายได้และให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด ทั้งนี้ การปรับตัวของผู้ให้บริการทางการเงินเพื่อให้เข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบจำเป็นต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนแนวคิด วัฒนธรรม
และกระบวนการดำเนินงานภายในองค์กรให้เป็นดิจิทัลเป็นลำดับแรก เพื่อต่อยอดไปยังการนำเสนอประสบการณ์ทางการเงินที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลให้แก่ผู้บริโภคมากขึ้น

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ทั้งในด้านเทคโนโลยีและการเงินเป็นอีกปัจจัยในการยกระดับ
การให้บริการทางการเงินของไทย โดยในปัจจุบันไทยมีความพร้อมด้านเทคโนโลยี
5G และ cloud computing
อยู่ในระดับสูง ซึ่งพร้อมที่จะตอบสนอง business application ต่าง ๆ รวมถึงการสร้างระบบนิเวศทางการเงิน และขยายขอบเขตการให้บริการไปสู่ในระดับภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ  อย่างไรก็ดี สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินนั้น แม้ว่าไทยจะมีระบบการชำระเงินที่มีประสิทธิภาพมาก แต่ยังคงต้องมีการพัฒนาในอีก 2 ส่วนสำคัญ คือ การเข้าถึงระบบยืนยันตัวตนและตรวจสอบ digital ID ของผู้ทำธุรกรรมด้วยต้นทุนต่ำ และกระบวนการจัดทำเอกสารทางการเงินในรูปแบบ digital document รวมถึงการใช้ digital signature ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ

ในอนาคต การกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงินดิจิทัลที่มีความหลากหลายขึ้นทำให้ ธปท. ก็จะต้อง
เพิ่มความคล่องแคล่วและปรับตัวเพื่อตอบสนองความท้าทายในการสร้างสมดุลระหว่างการรักษาเสถียรภาพ
ความน่าเชื่อถือ และความปลอดภัยทางไซเบอร์ของผู้บริโภค ควบคู่ไปกับการส่งเสริมพัฒนาการของนวัตกรรม
ทางการเงินรูปแบบต่าง ๆ ภายใต้หลักการ
3 Os คือ การส่งเสริมการแข่งขันที่เท่าเทียม (open environment) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกลางสำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน (open infrastructure) และการสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากข้อมูลต่าง ๆ (open data) โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน
ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคและสนับสนุนผลิตภัณฑ์ทางการเงินดิจิทัลที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจ
และสังคม

Platform as a service in the new decade

ตอบโจทย์ธุรกิจและประชาชนอย่างไรด้วยการใช้แพลตฟอร์ม

ภาพรวม

 กุญแจสำคัญที่ทำให้ platform ประสบความสำเร็จต้องมีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ มีผู้ใช้งาน
เป็นจำนวนมาก มีเครื่องมือที่ช่วยให้การทำธุรกรรมบน
Platform สะดวกยิ่งขึ้น และนำข้อมูลที่มีอยู่บน platform มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้งานใน ecosystem  นอกจากนี้ platform ในประเทศไทย ควรมีลักษณะเป็น
open platform
ที่เปิดกว้างรองรับการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ และมีต้นทุนที่ต่ำเพื่อเอื้อให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถแข่งขันและเติบโตได้ รวมถึงมีการดูแลไม่ให้ผู้เล่นรายใหญ่มีอำนาจในการแข่งขันมากจนเกินไป
นอกจากนี้ หน่วยงานกำกับดูแลควรเข้ามามีบทบาทในด้านกฎระเบียบ และการออกแบบพัฒนา
platform
เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา รวมทั้งเพิ่มความคล่องตัวและความเป็นธรรมในการให้บริการ

สาระสำคัญ

 Platform” คือ พื้นที่หรือเวทีที่มีผู้ใช้งานจำนวนมากสำหรับทำกิจกรรมหรือทำธุรกิจร่วมกัน ก่อให้เกิด
การใช้ทรัพยากรโดยที่เจ้าของ
platform ไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพยากรเอง โดยคุณสมบัติของ platform ที่ดี
ต้องมี
3 องค์ประกอบ ได้แก่ ผู้ใช้งานจำนวนมาก เครื่องมือที่ช่วยให้การทำธุรกรรมบน platform
มีความสะดวกขึ้น และการนำข้อมูลที่มีอยู่บน
platform มาใช้ให้เกิดประโยชน์

การพัฒนา platform มีความท้าทายหลายด้าน เช่น ต้องถูกออกแบบให้ขยายได้ง่าย (scalable)
และสามารถรองรับผู้ใช้งานจำนวนมาก ต้องดึงดูดให้มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก ต้องมีเครื่องมือที่ใช้ข้อมูล
ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงต้องมุ่งพัฒนาให้เป็น
open platform ที่สามารถเปิดให้ผู้เล่นรายอื่น
(3rd party) เข้ามาพัฒนาบริการต่อยอดและอยู่ร่วมกันได้ รวมถึงการพัฒนาไปสู่การเป็น national digital platform ของประเทศ ซึ่ง national digital platform ที่ดีควรมีบริการจาก 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ
ภาคเอกชน และภาคประชาชน จึงจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศไทย

นอกจากนี้ ประโยชน์ของ open platform ขนาดใหญ่และผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก คือ การช่วยพิสูจน์
ตัวตนด้วย digital ID ของผู้ใช้งานบน platform ประกอบกับการมีโครงข่ายของข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และมีข้อมูล
ที่หลากหลายจะช่วยให้ลักษณะของธุรกรรมเป็นแบบอัตโนมัติมากขึ้น ทั้งนี้
platform ในประเทศไทยควรมีต้นทุนที่ต่ำเพื่อให้ธุรกิจขนาดเล็ก และ startup สามารถแข่งขันและเติบโตได้ รวมไปถึงหน่วยงานกำกับดูแล
ควรเข้ามามีบทบาทในด้านกฎระเบียบ มีการดูแลไม่ให้ผู้เล่นรายใหญ่มีอำนาจในการแข่งขันมากจนเกินไป
และมีการออกแบบพัฒนา
platform เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา  รวมทั้งเพิ่มความคล่องตัวและความเป็นธรรมในการให้บริการ

 

Disruptive Technologies in Trend with Potential Financial Solutions

พลิกโฉมโลกการเงินด้วย Disruptive Technologies

ภาพรวม

สถานการณ์ COVID-19 เป็นตัวเร่งให้เทคโนโลยีมีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วและสร้างโอกาสทางธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ ในส่วนของภาคการเงินมีการนำเทคโนโลยีใหม่มาประยุกต์ใช้เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป
การทำธุรกรรมทางดิจิทัลมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดและได้รับการตอบรับอย่างดีจากทุกภาคส่วน

 

สรุปสาระสำคัญ

กระแสของ disruptive technologies ในภาคการเงินสามารถแบ่งออกเป็นช่วงเวลา ดังนี้

·    ปี 2016 2017: เป็นช่วง 1st wave ของการเริ่มเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีของภาคการเงินครอบคลุมทั้ง mobile banking และ epayment นอกจากนี้ยังเกิดกลุ่มบริษัท FinTech และบริษัท startup  จำนวนมากที่พยายามแข่งขันด้านธุรกิจการเงินกับธนาคาร รวมถึงมีการเกิดขึ้นของระบบการเงินแบบ CeFi (Centralized Finance) ในส่วนของ cryptocurrency เช่น Bitcoin 

·    ปี 2018 – 2019: เป็นช่วง 2nd wave ซึ่งอยู่ในช่วง disruption domino คือ แต่ละภาคส่วน
เริ่มทยอยเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี สำหรับภาคการเงินนั้น ธนาคารเริ่มมีการดำเนินธุรกิจแบบพันธมิตร
กับบริษัท
FinTech และบริษัท startup นอกจากนี้ ระบบการเงินแบบ CeFi และ DeFi (Decentralized Finance) มีการพัฒนาต่อยอดในส่วนของ Ethereum และ smart contracts รวมทั้งเกิด Binance

·    ปี 2020: เป็นช่วงสถานการณ์ COVID19 ซึ่งเป็นตัวเร่งการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว
จากเดิมอยู่ในช่วง
disruption domino มาเป็นช่วง continuous disruption คือ ทุกภาคส่วนมีการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีพร้อม ๆ กัน เช่น ระบบการศึกษาและระบบสาธารณสุขมีการเปลี่ยนแปลงมาอยู่ในรูปแบบ online มากขึ้น เป็นต้น สำหรับภาคการเงินนั้น พฤติกรรมของผู้บริโภคแบบ At Home Economy เร่งให้มี
การเปลี่ยนแปลงด้านบริการทางการเงินโดยใช้เทคโนโลยีมาช่วย เช่น
augmented reality, virtual reality
และ
AI เป็นต้น รวมทั้งเกิดกระแสการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลของคนรุ่นใหม่ ทำให้เกิดการเติบโตของระบบการเงินแบบ CeFi และ DeFi อย่างก้าวกระโดด

·    หลังปี 2021: เป็นช่วงที่เต็มไปด้วยความท้าท้ายและโอกาสของธุรกิจในภาคการเงิน โดยผู้เล่น
และลูกค้ามีส่วนร่วมในการออกแบบและพัฒนาการบริการทางเงินใหม่ ๆ ที่ตอบความต้องการ ซึ่งจะเป็น
ยุครุ่งเรืองของวิวัฒนาการในระบบการเงิน

 

Connecting All Innovative Finance to Transform Businesses

เชื่อมโยงนวัตกรรม ปรับโฉมธุรกิจใหม่

ภาพรวม

            ภายใต้สถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีใหม่ ๆ และการแพร่ระบาดของโรค
โควิด-
19 ทำให้การดำเนินงานของภาคธุรกิจมีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการต่าง ๆ เกิดการสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ พร้อมด้วยบทบาทของภาคการเงินในการพัฒนานวัตกรรมและ solution เพื่อช่วยยกระดับขีดความสามารถของธุรกิจไทย รวมทั้งธนาคารแห่งประเทศไทยได้ส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่สำคัญสำหรับรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจในยุคดิจิทัล
ให้ธุรกิจสามารถปรับตัวเข้าสู่
eBusiness แบบครบวงจร

สรุปสาระสำคัญ

การปรับตัวของภาคธุรกิจและภาคการเงินสู่โลกยุคดิจิทัล (digital transformation):

·    Digital transformation ของภาคธุรกิจ ภาคธุรกิจมีการปรับตัวสู่รูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน เช่น การจัดซื้อ การจัดการระบบค้าปลีก รวมถึงมีการสนับสนุนให้การดำเนินงานเป็นแบบ paperless และเชื่อมโยงกระบวนการทำงานแบบ endtoend process นอกจากนี้ มีการใช้ข้อมูล
ต่าง ๆ ในการบริหารจัดการและประกอบการตัดสินใจในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

·    การพัฒนาเทคโนโลยีของภาคการเงิน ในปัจจุบันภาคการเงินมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจจากรูปแบบเดิมที่ธนาคารเป็นตัวกลางในการทำธุรกรรมสู่ digital solution ที่จะช่วยตอบความต้องการ
ของลูกค้ามากขึ้น เช่นเดียวกับธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีแนวนโยบายที่ส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ทางการเงิน (
Smart Financial and Payment Infrastructure for Business) ที่จะช่วยสนับสนุนการปรับตัวของภาคธุรกิจเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทำให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น ลดการสัมผัสเงินสด สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อ และเอื้อให้เกิดผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่ตรงกับความต้องการภาคธุรกิจ

ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจสามารถปรับตัวไปสู่โลกดิจิทัล มีดังต่อไปนี้

·    ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาคธุรกิจ ภาคการเงิน และภาครัฐในการปรับเปลี่ยน
สู่โลกยุคดิจิทัล

·    การสนับสนุนให้มีเครื่องมือที่ช่วยให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคธุรกิจขนาดกลาง / เล็ก
ให้สามารถปรับตัวได้ รวมถึงการสร้างแรงจูงใจ (
incentive) ในการใช้งาน

·    การสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ตรงความต้องการของผู้ใช้บริการ
เช่น กฎระเบียบ การสร้างแรงจูงใจ และการเปิดกว้างให้มีผู้เล่นที่หลากหลาย

·    การเร่งพัฒนาบุคลากรของไทยให้มีความรู้และความสามารถในการใช้งาน digital services
ในอนาคต


How Financial Service Providers Have Transformed Themselves to Support Business with Innovations

นวัตกรรมที่ปรับเพื่อรับภาคธุรกิจ

ภาพรวม

การแข่งขันที่รุนแรงในยุคดิจิทัลทำให้ผู้เล่นในภาคการเงินทั้งสถาบันการเงินและผู้ให้บริการที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (nonbanks) ต้องปรับตัวและปรับแนวทางการทำธุรกิจ โดยให้ความสำคัญกับการลงทุนเพื่อพัฒนานวัตกรรมที่จะช่วยสร้างธุรกิจใหม่หรือเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ใช้บริการ

สรุปสาระสำคัญ

การปรับตัวของผู้ให้บริการ ปัจจุบันตัวกลางทางการเงินมีบทบาทและความสำคัญลดลง ธนาคาร
จึงจำเป็นต้องสร้างความแตกต่างและจุดขายให้กับบริการของตน โดยธนาคารไทยพาณิชย์มีการนำนวัตกรรม
มาสร้างธุรกิจใหม่ ในขณะที่บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ได้ปรับตัวโดยเข้ามาให้บริการหน้าบ้าน เพื่อให้อยู่ในสายตาของผู้ใช้บริการมากขึ้น รวมถึงใช้ประโยชน์จากข้อมูล
ในการพัฒนาบริการให้ตอบโจทย์ผู้ใช้ และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้างและเอื้อให้เกิดนวัตกรรม รวมทั้งดึงดูดคนรุ่นใหม่เข้ามาในองค์กร โดยในช่วงที่ผ่านมาเน้นการร่วมมือกับลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจในการพัฒนาบริการ

ตัวอย่างการนำเทคโนโลยีมาใช้ ได้แก่

ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้แก่ (1) Blockchain Solution from Procure to Pay แฟลตฟอร์มที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการซื้อขายและรองรับการชำระเงิน ซึ่งสามารถต่อยอดไปสู่การให้สินเชื่อแก่ผู้ใช้บริการ         (2) PayZave แฟลตฟอร์มการชำระเงินระหว่างคู่ค้า โดยผู้ซื้อจะได้ส่วนลดหากไม่ขอเครดิตเทอม ส่วนผู้ขาย
จะได้สภาพคล่องเร็วขึ้น (
3) SCB มีตังค์ แพลตฟอร์มที่เชื่อมกับระบบจ่ายเงินเดือนของบริษัท ซึ่งพนักงานสามารถเบิกเงินเดือนล่วงหน้าได้โดยไม่ต้องรอถึงสิ้นเดือน ซึ่งจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับพนักงาน

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้แก่ (1) Credit scoring โดยวิเคราะห์ความสามารถ
ในการชำระหนี้จากพฤติกรรมการจ่ายบิลของลูกค้าที่ยังเข้าไม่ถึงบริการของธนาคาร (
2) Digital payment
ซึ่งช่วยเพิ่มยอดขายให้กับกลุ่มค้าปลีก และสามารถนำข้อมูลมาใช้ทำรายการส่งเสริมการขายที่ตรงใจลูกค้ามากขึ้น (
3) อุปกรณ์ IoT เช่น กล้องที่ช่วยตรวจจับจำนวนสินค้าบนชั้นวางของและสามารถแจ้งเตือนให้มีการเติมสินค้าได้

สภาพแวดล้อมหรือ ecosystem ที่จะช่วยสนับสนุน เช่น (1) นโยบายรัฐและกฎเกณฑ์ที่เอื้อให้เกิด
การพัฒนานวัตกรรม เช่น จีนที่เปิดให้มีการพัฒนานวัตกรรมขึ้นมาก่อนแล้วค่อยเข้าไปควบคุม (
2) การส่งเสริมให้ผู้ให้บริการรายเล็กเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานกลาง (3) การลดต้นทุนของการใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ค่าอินเทอร์เน็ต (4) การส่งเสริมการลงทุนในบริษัทที่ผลิตนวัตกรรม เช่น ให้สิทธิประโยชน์ภาษี และ (5) ไม่ทิ้ง
กลุ่มผู้ใช้บริการที่ยังก้าวไม่ทันเทคโนโลยี

คำแนะนำสำหรับภาคธุรกิจในการปรับตัวให้เป็นธุรกิจดิจิทัล การปรับตัวไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็น
ความจำเป็นที่ธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมต้องทำ โดยมีหลายแนวทาง เช่น (
1) ลองทำอะไรใหม่ ๆ (2) ร่วมมือกับลูกค้าหรือพันธมิตรทางธุรกิจพัฒนานวัตกรรม (3) ปรับตัวและสร้างบริการใหม่ ๆ ให้เร็ว (4) คิดไปถึงระดับภูมิภาคหรือระดับโลก (5) ดึงดูดคนรุ่นใหม่เข้ามาในองค์กร (6) ให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนบุคคล

The essentials of Digital ID, Digital Signature and Digital Consent for Businesses

ตัวตนในโลกออนไลน์ สำคัญอย่างไรในต่อภาคธุรกิจ 

ภาพรวม

ปัจจัยพื้นฐานลำดับแรกในการทำธุรกรรมบนโลกออนไลน์ คือการพิสูจน์และยืนยันตัวตนของผู้ทำธุรกรรมทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลผ่านช่องทาง digital ซึ่งที่ผ่านมามีพัฒนาการของ digital ID ในแต่ละภาคส่วนเพื่อให้สามารถทำธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ได้อย่างสะดวก รวมทั้งองค์ประกอบเรื่องการลงลายมือชื่อ
ทางดิจิทัล (
esignature) และการให้ความยินยอมทางดิจิทัล (econsent) ที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการปรับกระบวนการต่าง ๆ เป็น digital ได้แบบ endtoend

สรุปสาระสำคัญ

กระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำในการทำธุรกรรม ไม่ว่าจะเป็นการโอนทะเบียนบ้าน ซื้อขายที่ดินที่สำนักงานเขต การขอ VISA ที่สถานทูต และการเปิดบัญชีหรือขอสินเชื่อที่ธนาคาร ต้องมีการพิสูจน์ตัวตนของผู้ทำธุรกรรมก่อน เช่น บุคคลธรรมดาต้องมีการแสดงบัตรประชาชนที่สาขาธนาคาร และเจ้าหน้าที่จะเปรียบเทียบข้อมูลในบัตรประชาชนก่อนจึงจะใช้บริการของธนาคารได้ และเมื่อมีการทำธุรกรรมในครั้งต่อไปจึงจะใช้สิ่งที่เคยพิสูจน์ไปแล้วมายืนยันตัวตนบุคคลนั้น

ปัจจัยสำคัญที่ใช้ทำธุรกรรม digital ได้แก่ สิ่งที่คุณมี สิ่งที่คุณเป็น และสิ่งที่คุณรู้ เช่น ลูกค้าไปสาขา
เพื่อสมัคร
mobile banking ต้องถ่ายรูปแล้วเปรียบเทียบใบหน้า (สิ่งที่คุณเป็น) กับข้อมูลในบัตรประชาชน หลังจากนั้นจึงจะสามารถใช้บริการบนโทรศัพท์มือถือ (สิ่งที่คุณมี) ซึ่งต้องกำหนด PIN (สิ่งที่คุณรู้) ด้วย
โดยปัจจุบันหากลูกค้าต้องการเปิดบัญชีสามารถทำผ่าน
mobile banking แทนการไปสาขาได้

ปัจจุบันมีพัฒนาการของ digital ID ในแต่ละภาคส่วน เช่น กรมการปกครองมี application  D.DOPA ซึ่งใช้ทำธุรกรรมกับหน่วยงานราชการแทนบัตรประชาชนได้ ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือใช้หมายเลขโทรศัพท์มือถือเป็นสิ่งอ้างอิงในการยืนยันตัวตน รวมถึง National Digital ID (NDID) ซึ่งเป็น platform ที่มีกระบวนการพิสูจน์ตัวตนของประชาชนที่ปลอดภัย และรองรับการยืนยันตัวตนกับหน่วยงานอื่น ๆ โดยมี
การกำหนดมาตรฐานของสมาชิกที่มาเชื่อมต่อ เช่น มาตรฐานด้าน
IT การบริหารความเสี่ยง รวมทั้งเปิดให้
ทุกภาคส่วนเข้ามาเชื่อมต่อได้

การพัฒนา digital ID สำหรับนิติบุคคล สามารถต่อยอดจาก Digital ID สำหรับบุคคลธรรมดา
ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนของกรรมการหรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงของนิติบุคคลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าซึ่งเป็น
trusted source ได้ ซึ่งภาคธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จาก digital ID ซึ่งสามารถนำมาใช้ควบคู่กับ esignature และ econsent ได้ในทุกกระบวนการตั้งแต่
จดทะเบียนบริษัท เปิดบัญชีธนาคาร ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี และการทำสัญญาเช่าต่าง ๆ ในรูปแบบ
digital ได้